ผึ้งต่อย ทำไงดี

ผึ้งต่อยทำไงดี ?

Posted on Posted in Emergency

  ผึ้งต่อยทำไงดี? “เอาเหล็กในออก ฟอกให้สะอาด ปาดสารต้านพิษ ชิดด้วยน้ำแข็ง แบ่งยาให้กิน อินกับอาการ” ผึ้ง ต่อ แตน ต่อย เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวันครับ เนื่องจากประเทศไทยเราเป็นประเทศในเขตร้อน ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ตามธรรมชาติของแมลงเหล่านี้ เราพบเห็นได้บ่อยในข่าวว่ามีคนเสียชีวิตจากการถูกแมลงเหล่านี้ต่อย ทั้งจากการดูแลที่ไม่ถูกต้อง ความเข้าใจผิดบางอย่าง รวมถึงความล่าช้าในการจัดการปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อโดนต่อย วันนี้หมอจะมาเล่าเรื่องราวเหล่านี้ให้ฟังกันครับ     มารู้จักกับ ผึ้ง ต่อ แตน กันก่อน แมลงเหล่านี้ อยู่ใน ตระกูล hymenoptera ซึ่งกระกูลนี้มีแมลงแตกต่างกันถึง 150,000 ชนิดเลยทีเดียวเลยนะ แต่ที่เราคุ้นกันดีคือ ผึ้ง ต่อ แตน และ มด ครับ วันนี้เรามาพูดถึง ผึ้ง ต่อ แตน กันว่า แมลงเหล่านี้มีความแตกต่างกันอย่างไร ผึ้ง ตัวเล็ก มีเหล็กใน ผึ้งบางชนิดเท่านั้นที่จะฝังเหล็กใน เมื่อต่อยเหยื่อ และ พิษของผึ้งนั้นมีความเป็นกรด   […]

FirstAid_Page_01

คู่มือปฐมพยาบาลจิตอาสาเฉพาะกิจ

Posted on Leave a commentPosted in Emergency

ยินดีต้อนรับจิตอาสาทุกท่านสำหรับงานเฉพาะกิจทางการแพทย์ครับ คู่มือปฐมพยาบาลฉบับนี้ เป็นฉบับย่อ กระชับ สำหรับประชาชนที่ร่วมมาเป็นจิตอาสา คู่มือฉบับนี้จัดทำโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีความน่าเชื่อถือ และ สามารถนำไปใช้ได้จริง   * หมายเหตุหากต้องการ ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การจัดการภาวะฉุกเฉินขั้นสูง สามารถคลิกที่นี่ได้ครับ  

NCPR1

NCPR

Posted on Leave a commentPosted in Emergency

เนื้อหาประกอบการบรรยาย NCPR (การช่วยฟื้นคืนชีพเด็กแรกเกิด) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . […]

Emergency call

เบอร์โทรฉุกเฉิน ตำรวจ ดับเพลิง กู้ชีพ

Posted on Leave a commentPosted in Emergency

สำนักงานตำรวจ   191 แจ้งไฟไหม้ สัตว์เข้าบ้าน    199 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ    1669 อุบัติเหตุทางน้ำ กองบัญชาการตำรวจ     1196 สายด่วนกรมเจ้าท่า   เหตุด่วนทางน้ำ    1199 สายด่วนยาเสพติด  กรมการแพทย์    1165 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ    1330 ศูนย์พิษวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี   1367 สายด่วนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา   1556 สายด่วนศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย    1666 สายด่วนกรมสุขภาพจิต    1667 ——–  ขอลงไว้เฉพาะหมายเลขโทรศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเท่านั้นนะครับ  ——— ด้วยความรัก นายแพทย์ธีรวัฒน์ สุวรรณี แพทย์ประจำบ้านหมอ Founder: www.idoctorhouse.com Founder: Kinya App. Facebook: นพ.ธีรวัฒน์ สุวรรณี

Trauma icon

อุบัติเหตุ รถชน ตกจากที่สูง แขนหัก ไฟไหม้ ทำอย่างไร ?

Posted on Leave a commentPosted in Emergency

“การป้องกันอุบัติเหตุดีกว่าเสมอ” “แต่จะทำอย่างไรหากเกิดอุบัติเหตุ”   เมื่อเกิดอุบัติเหตุ  ย่อมมีการช่วยเหลือตามมาจากพลเมืองดีที่อยู่ในบริเวณใกล้ๆ แต่…  การช่วยเหลือที่ไม่ถูกวิธี  นอกจากจะทำให้ผู้ประสบเหตุเสี่ยงเสียชีวิตแล้ว  ยังสามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อนแก่ผู้ช่วยเหลือได้ครับ หลักการในการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุมีอยู่ว่า  “ปลอดภัยทั้งผู้ประสบเหตุและผู้ช่วยเหลือ” ครับ ซึ่งการช่วยเหลือ ขณะที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันมีขั้นตอนดังนี้ครับ ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อน และ ขอความช่วยเหลือ จัดลำดับการช่วยเหลือให้ถูกต้อง ช่วยเหลือเบื้องต้น นำผู้ป่วยส่งสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด จะเห็นได้ว่าขึ้นตอนในการช่วยเหลือในอุบัติเหตุมีขั้นตอนไม่มาก  แต่ต้องตั้งสติในการช่วยเหลือครับ ต่อไปเรามาลงรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนกัน ว่าแต่ละขั้นตอนมีความสำคัญอย่างไร   ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อน และ ขอความช่วยเหลือ   การป้องกันอุบัติเหตุซ้ำซ้อนเป็นสิ่งสำคัญมากในการช่วยเหลือ  เพราะมีผลต่อทั้งชีวิตผู้ประสบอุบัติเหตุเองและผู้ที่ให้ความช่วยเหลือ หากเกิดอุบัติเหตุทางจราจร ควรเปิดไฟฉุกเฉิน  ออกจากตำแหน่งเกิดเหตุหากมีความเสี่ยงต่อการระเบิด  และทำเครื่องหมาย กิ่งไม้ หรือสัญลักษณ์ ให้ผู้ใช้ถนนทราบก่อนที่จะมาถึงบริเวณเกิดเหตุ หากไฟฟ้าช็อต ป้องกันอุบัติเหตุซ้ำซ้อนได้โดย สับสวิตช์ไฟฟ้าเพื่อตัดกระแสไฟฟ้า ก่อนทำการช่วยเหลือ หัวใจหลักคือต้องปลอดภัยทั้งผู้ให้และผู้รับการช่วยเหลือครับ  และอย่าลืมที่จะโทร หรือ เรียกเพื่อขอความช่วยเหลือ คลิกที่นี่เพื่อดูเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉิน   จัดลำดับการช่วยเหลือให้ถูกต้อง   ในที่นี้เราว่ากันถึง “ลำดับการช่วยเหลือ” ว่าสมควร ที่จะช่วยใครก่อน   จากความรู้สึก  […]

Seizure text2

ชัก เกร็ง กระตุก ทำอย่างไร ?

Posted on Leave a commentPosted in Emergency

“ภาวะชักสามารถดูแลเบื้องต้นได้ง่ายๆ และทำให้คนไข้ปลอดภัย ก่อนนำส่งหมอได้ครับ  เพราะชักไม่เท่ากับตาย” . . “Seizure  is  abnormal  neuronal  electrical  firing” ชัก คือ  ภาวะที่คลื่นไฟฟ้าในสมองทำงานมากเกินปกติ   สมองมนุษย์หรือสัตว์ชนิดต่างๆ มีหลายส่วนครับ  ซึ่งแต่ละส่วนทำหน้าที่ต่างกันไป การที่คลื่นไฟฟ้าทำงานมากเกินปกติ  อาจจะเกิดในสมองเฉพาะส่วน หรือ ทั้งหมดพร้อมๆกัน  เพราะฉะนั้นการชักไม่จำเป็นต้องเกร็งกระตุกเสมอไป บางครั้งชักเงียบคือหยุดนิ่งไป  หากชักในสมองส่วนที่เกี่ยวกับการมอง จะมีการเห็นภาพผิดปกติ หรือภาพหลอนได้   หากชักในสมองส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมอาจจะพบว่าบุคคลนั้นพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปบางช่วง อาการแสดงขึ้นอยู่ที่ว่าคลื่นไฟฟ้าที่มากเกินนี้เกิดขึ้นที่ตำแหน่งใด  แต่ชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดคือ การชักเกร็งกระตุกน้ำลายฟูมปาก  ซึ่งเกิดจากคลื่นไฟฟ้าที่มากเกินปกติในสมองทั้งหมดพร้อมๆกันครับ   ผลกระทบจากการชักที่น่าสนใจมีดังนี้ครับ สมองขาดออกซิเจน สามารถส่งผลให้เนื้อเยื่อและเซลล์ประสาทบางส่วนเสียหาย สำลักอาหาร หรือ น้ำลายขณะชัก เกิดปอดติดเชื้อตามมาในภายหลัง อุบัติเหตุขณะเกิดอาการชัก เช่น รถชน จมน้ำ  ไฟไหม้ และ อันตรายจากเครื่องจักร ชัก เกร็ง กระตุก ทำอย่างไร ? ตั้งสติ เพราะชักไม่เท่ากับตาย เราสามารถดูแลได้ครับ […]

Fever icon

ไข้สูง ไข้ 40 ไข้หนาวสั่น ทำอย่างไร?

Posted on Leave a commentPosted in Emergency

“ เพราะ บางครั้งกว่าจะถึงมือหมอ มันอาจจะสายเกินไป การดูแลเรื่องไข้สูงอย่างถูกวิธีและรวดเร็ว  สามารถป้องกันการชัก และ ทำให้ความรุนแรงของโรคลดลงได้ครับ “ . . สมดุลอุณหภูมิร่างกายมนุษย์โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 37 ℃    สามารถแปรผันขึ้นลงในแต่ละวันได้ประมาณ 0.5 ℃ เหตุผลที่ต้องรักษาสมดุลให้อยู่ประมาณ 37 ℃  เพราะเป็นช่วงที่ฮอร์โมนและเอนไซม์ต่างๆสามารถทำงานได้ปกติ  ซึ่งสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีสมดุลเรื่องอุณหภูมิที่แตกต่างกันครับ สมดุลเรื่องอุณหภูมิ  ถูกแบ่งออกเป็นสองทางคือสร้างและระบายความร้อน  ซึ่งหน้าที่ในการสร้างความร้อนจะมาจากตับและกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่  ส่วนฝั่งของการระบายความร้อนจะเป็นหน้าที่ของรูขุมขนบนผิวหนังและการหายใจออก ตัวอย่างง่ายๆในการรักษาสมดุลอุณหภูมิ คือการออกกำลังกายครับ  ซึ่งพลังงานจากกล้ามเนื้อจะเปลี่ยนเป็นความร้อน และเพื่อรักษาสมดุล  เราต้องหายใจหอบและเหงื่อแตก เพื่อระบายความร้อนนั้นทิ้งไป อาการไข้ เกิดจาก  สมองปรับสมดุลอุณหภูมิสูงขึ้น  จาก 37℃  ไปเป็น 38℃    39℃    40℃ สมองส่วนนี้เรียกว่า ไฮโปธาลามัส นั่นเอง   ซึ่งตัวไฮโปธาลามัสจะโดนกระตุ้นโดย  การติดเชื้อ ยา สารเคมีในร่างกาย หรือความผิดปกติของสมองเอง เมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นเราเรียกสิ่งนั้นว่า “ไข้”  คำจำกัดความของไข้คือ วัดอุณหภูมิทางปากได้ >37.7°C (>99.9°F) […]

CPR logo3

หัวใจหยุดเต้น หยุดหายใจ ปั๊มหัวใจ ทำอย่างไร ?

Posted on Leave a commentPosted in Emergency

หากคุณช่วย คนป่วยมีโอกาสรอด หากลังเลที่จะช่วย  1 นาทีที่เสียไป โอกาสรอดลดลง 7% – 10% ช้าไป 5 นาที โอกาสรอดชีวิตเหลือเพียงครึ่งเดียว ไม่เป่าปาก  ไม่เป็นไร  ลงมือช่วยเลยครับ ห่วงโซ่ในการรอดชีวิต มีอยู่ทั้งหมด 4 ขั้นตอนหลักๆครับ Early recognition and call for help เข้าถึงผู้ป่วยให้เร็ว และ ขอความช่วยเหลือ เพื่อป้องกันหัวใจหยุดเต้น Early CPR เร่งรีบปั๊มหัวใจ เพื่อ ซื้อเวลารอทีมช่วยเหลือ Early defibrillation ช็อคหัวใจด้วยไฟฟ้า เพื่อ ให้หัวใจกลับมาทำงานอีกครั้ง Post resuscitation care การดูแลคนไข้หลังปั๊มหัวใจ เพื่อ ให้ร่างกายกลับมาทำงานเช่นเดิม ในกรณีบุคคลทั่วไปจะเน้นการช่วยเหลือใน 3 ขั้นตอนแรกเป็นหลักครับ เพราะขั้นตอนสุดท้ายต้องดูแลโดยบุคลากรทางการแพทย์ และ เครื่องมือในโรงพยาบาลครับ เริ่มกันเลย Early recognition […]