Physiology Reproductive icon

การทำงานของระบบสืบพันธุ์

Posted on Leave a commentPosted in Library, Physiology

  Physiology ใน 1 นาที   สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดนั้นมีอายุขัยที่แตกต่างกันครับ  สิ่งมีชีวิตบางชนิดนั้นอายุเพียง 7 วัน แต่ก็มีบางชนิดที่มีอายุเฉลี่ยกว่าร้อยปีเลยทีเดียว สิ่งมีชีวิตจึงต้องมีการสืบพันธุ์เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไป  ไม่ใช่เพียงสัตว์เท่านั้น อาณาจักรพืชก็มีระบบสืบพันธุ์เช่นกันครับ มนุษย์เป็นสิ่งมีอายุขัยตามพันธุกรรม อยู่ในหลักน้อยกว่า 100 ปี นานๆครั้งที่จะพบเห็นมนุษย์เราอายุมากกว่านี้ แต่อย่างไรก็ตาม อายุเฉลี่ยของมนุษย์นั้นแตกต่างกันตามอาหาร และ พื้นที่อยู่อาศัยครับ ระบบสืบพันธุ์ของคนเรานั้นเป็นแบบอาศัยเพศครับ  ในแต่ละหน่วยของคนนั้นจะมีเพียงเพศเดียว และ คนหนึ่งคนจะสามารถสร้าง ชุดพันธุกรรมเพื่อการสืบพันธุ์ได้เพียงครึ่งเดียว  และรอชุดพันธุกรรมอีกครึ่งหนึ่งจากเพศตรงข้าม เพื่อการรวมตัวกลายเป็นหน่วยสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่ เพศชายนั้นสร้างชุดพันธุกรรมในรูปแบบของ sperm และในเพศหญิงนั้นสร้าง Egg ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้ จะได้รับการสร้างขึ้นมาเมื่อเรานั้นเติบโตเป็นวัยรุ่น  ในภาวะที่เหมาะสม Sperm และ Egg นั้นจะรวมตัวกันโดยชุดพันธุกรรมคนละครึ่ง กลายเป็นชุดพันธุกรรมที่สมบูรณ์และเกิดสิ่งมีชีวิตขึ้นมาครับ . . . กลไกการทำงานของระบบสืบพันธุ์ (ฉบับเต็ม) มนุษย์เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยเพศในการสืบเผ่าพันธุ์ครับ  สารพันธุกรรมในหน่วยเล็กๆนั้นเรียกกันว่า Chromosome(โครโมโซม) ซึ่งอยู่ในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดในจำนวนที่แตกต่างกัน  มนุษย์เรามีโครโมโซมทั้งหมดคือ 46 โครโมโซม ใกล้เคียงกับลิงที่มี […]

Physiology Skin icon

การทำงานของผิวหนัง

Posted on Leave a commentPosted in Library, Physiology

  Physiology ใน 1 นาที ระบบผิวหนังของสิ่งมีชีวิต มีหน้าที่ในการห่อหุ้มร่างกาย เพื่อรักษาสมดุลน้ำ  อุณหภูมิในร่างกาย และป้องกันอันตรายจากสภาพแวดล้อมภายนอก  ซึ่งผิวหนังของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด จะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ครับ ระบบผิวหนังนั้นยังรวมถึง ขน ผม เล็บ ต่อมไขมัน และ ต่อมเหงื่อที่อยู่ในผิวหนัง  ซึ่งอวัยวะต่างๆนี้ ล้วนมีหน้าที่ในการรักษาสมดุล และ ปกป้องร่างกายจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นมิตรครับ เรื่องของผิวหนัง เป็นเรื่องที่มนุษย์อย่างเราให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะเกี่ยวข้องกับหน้าตาและความสวยงาม  การเข้าใจธรรมชาติของระบบผิวหนัง จะช่วยให้เราเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหนังอย่างถูกต้องครับ     การทำงานของระบบผิวหนัง (ฉบับเต็ม) ระบบผิวหนังนั้น เป็นระบบแรกที่พัฒนาขึ้นในสิ่งมีชีวิตครับ หน้าที่หลักคือ “การห่อหุ้มร่างกาย” ของสิ่งมีชีวิต ให้แยกออกจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่อย่างชัดเจน  ซึ่งในยุคที่เริ่มเกิดสิ่งมีชีวิตขึ้นบนโลก(คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้วิวัฒนาการ) ผิวหนังของสิ่งมีชีวิต เป็นเป็นเพียงเยื่อบางๆ เพื่อกั้นสิ่งแวดล้อมภายนอกกับภายในเซลล์เพียงเท่านั้น ด้วยสภาพแวดล้อม และการใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน จึงเกิดการพัฒนาอวัยวะต่างๆ จากเยื่อบางๆนี้  ให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิต  ตัวอย่างเช่น เต่าพัฒนากระดองเพื่อการปกป้องตัวเอง หรือ หมีในขั้วโลกพัฒนาขนที่หนาฟู เพื่อให้ตัวเองอุ่น  กิ้งก่าบางสายพันธ์พัฒนาผิวหนังให้เปลี่ยนสีได้เพื่ออำพรางจากอันตราย หรือแม้กระทั่งนกพัฒนาขนที่เรียงตัวเพื่อให้ตัวเองนั้นบินได้  สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากการพัฒนาของระบบผิวหนังครับ ผิวหนังของมนุษย์ […]

Physiology GI icon

การทำงานของระบบย่อยอาหาร

Posted on Leave a commentPosted in Library, Physiology

  Physiology ใน 1 นาที ระบบทางเดินอาหารเป็นระบบหลัก ที่ทำหน้าที่ “นำเข้าอาหาร” เพื่อเป้าหมายสองอย่างคือ “เพื่อเป็นพลังงานให้กับสิ่งมีชีวิต” และ “เพื่อเป็นวัตถุดิบในการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆ” ทางเดินอาหารของมนุษย์ประกอบด้วยอวัยวะหลายอย่าง เริ่มจากช่องปาก ทำหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหาร ส่งต่อไปยังทางเดินอาหาร กระเพาะและลำไส้ ทำการดูดซึมสารอาหารที่สำคัญ  และขับทิ้งของเสียทางทวาร ซึ่งจะใช้เวลาโดยเฉลี่ย คือ 12 ชั่วโมง แต่ขึ้นอยู่กับชนิดอาหารด้วยนะครับ การย่อยมีหลักการสำคัญคือ เปลี่ยนอาหาร ที่มีขนาดใหญ่ ให้เป็นโมเลกุลเล็กลง เพื่อการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย โดยมี “สองกลไกหลัก” คือ “การย่อยโดยการเคลื่อนไหว”(Mechanical) และ “การย่อยโดยเอนไซม์และสารเคมี” (Chemical)  โดยทั้งสองกลไกทำงานร่วมกันอย่างสอดคล้องกันครับ การย่อยแบ่งเป็นระยะได้ สามระยะครับ คือ “สมอง”  “กระเพาะ” และ “ลำไส้”  โดยการทำงานเหล่านี้ ถูกควบคุมโดยสารสื่อประสาทจากสมอง  สารอาหาร และความเป็นกรดด่าง ที่เปลี่ยนแปลงในทางเดินอาหารครับ       การทำงานของระบบทางเดินอาหาร (ฉบับเต็ม) หมอคงต้องเล่ากลับไปถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตครับ(คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้วิวัฒนาการของมนุษย์)  […]

Physiology KUB icon

การทำงานของไต

Posted on Leave a commentPosted in Library, Physiology

  Physiology ใน 1 นาที ระบบทางเดินปัสสาวะ มีหน้าที่รักษาสมดุล ปริมาณน้ำ เกลือแร่ ของเสียต่างๆในร่างกาย รวมไปถึงสมดุลของความดันเลือด  และยังมีหน้าที่ๆคิดไม่ถึงคือ หลั่งฮอร์โมน เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงในกระแสเลือด   ระบบทางเดินปัสสาวะนี้ทำงานคู่กับ ระบบหัวใจและหลอดเลือดอย่างสอดคล้องกันครับ ระบบหัวใจและหลอดเลือดเป็นจุดตั้งต้นที่จะปั๊มเลือด เพื่อมาทำการฟอกที่ไต ในหน่วยที่เล็กที่สุดซึ่งประกอบด้วย เส้นเลือดฝอย และ ท่อไตขนาดเล็ก เราเรียกสิ่งนั้นว่า “หน่วยไต” (nephron) “หน่วยไต” ทำหน้าที่ในการกรองเลือด ปล่อยสารต่างๆจากเซลล์ รวมไปถึงการดูดกลับสารที่สำคัญมากมาย โดยกลไกนี้ควบคุมโดยฮอร์โมน และ ระบบประสาทอัตโนมัติ  จนได้ของเหลวในขั้นตอนสุดท้ายที่มีสีเหลืองขึ้นมา ของเหลวนี้ไหลผ่าน ท่อไตเล็กๆในไตทั้งสองข้าง มาที่กรวยไต ผ่านท่อไตในแต่ละข้าง จนสุดท้ายมารวมกันที่ กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งมีระบบประสาทที่ควบคุมอยู่ ซึ่งเราสามารถสั่งการให้เกิดการปัสสาวะได้ตามต้องการครับ     การทำงานของไตและระบบทางเดินปัสสาวะ (ฉบับเต็ม) สิ่งมีชีวิตมีการวิวัฒนาการที่แตกต่างกัน(คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้วิวัฒนาการมนุษย์) แต่สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ล้วนมี “ระบบการรักษาสมดุลของเสีย” เป็นของตัวเองครับ สัตว์ปีกและสัตว์เลื้อยคลานจะกำจัดปัสสาวะเป็นสารประกอบสีขาว อาจเป็นของเหลวหรือของแข็ง ลองสังเกตจิ้งจกได้ครับ ส่วนที่เป็นเม็ดขาวๆในถ่ายของเขา นั่นคือปัสสาวะของเขาครับ มาถึงสัตว์กลุ่มที่เลี้ยงลูกด้วยนม ส่วนใหญ่จะปัสสาวะเป็นของเหลวและมีสีสันต่างๆกัน […]

Physiology RS icon

การทำงานของระบบทางเดินหายใจ

Posted on Leave a commentPosted in Library, Physiology

Physiology ใน 1 นาที “ระบบทางเดินหายใจ”  เป็นระบบสำคัญระบบหนึ่งในร่างกายในการ รักษาสมดุลแก๊ส ในกระแสเลือด โดยมีการทำงานสอดคล้องกับระบบหัวใจและหลอดเลือดอย่างใกล้ชิด ระบบทางเดินหายใจนี้ มีหน้าที่ในการ เติมแก๊สที่สำคัญเช่น ออกซิเจน เข้าสู่กระแสเลือด และกำจัดแก๊สของเสียจากร่างกายเช่น คาร์บอนไดออกไซด์ และมีการรักษาสมดุล กรด-เบส เพื่อให้เลือดมีสภาวะที่พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา การแลกเปลี่ยนแก๊สที่มีความสำคัญเหล่านี้ เกิดขึ้นในหน่วยที่เล็กที่สุด ที่เรียกว่า “ถุงลม” โดยถุงลมนี้มีหลอดเลือดฝอยที่มีผนังบางทำหน้าที่เป็นเยื่อเลือกผ่าน ล้อมรอบถุงลมนี้อยู่  และในหลอดเลือดเองมีสิ่งที่สำคัญคือ “เม็ดเลือดแดง” ที่ทำหน้าที่ในการขนส่งแก๊สที่มีความสำคัญเหล่านี้ “เม็ดเลือดแดง” จะขนส่ง ออกซิเจน จากที่ๆมีความเข้มข้นสูง ที่บริเวณปอด ไปสู่เนื้อเยื่อบริเวณต่างๆในร่างกาย และ มีการปล่อยออกซิเจนให้เนื้อเยื่อต่างๆ และสุดท้าย ขน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นผลผลิตจากเซลล์ กลับไปที่ปอดเพื่อกำจัดทิ้ง หลังจากนั้นจะรับเอา ออกซิเจน เข้าสู่เซลล์เพื่อเริ่มการขนส่งรอบใหม่อีกครั้ง     ภาพจาก pixabay.com การทำงานของระบบทางเดินหายใจ (ฉบับเต็ม) ย้อนไปเมื่อหลายล้านปีก่อนจากการวิวัฒนาการ (คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้การวิวัฒนาการ)  การศึกษาพบว่า การที่เซลล์ของสิ่งมีชีวิต จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ […]

Physiology CVS icon ST

การทำงานของระบบประสาท

Posted on Leave a commentPosted in Library, Physiology

Physiology ใน 1 นาที (ฉบับย่อ) ระบบประสาทและสมอง ถือว่าเป็นสิ่งพิเศษที่ทำให้มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ครองโลกครับ ถ้ากล่าวถึงการทำงานโดยรวมของสมองแบบง่ายๆ คือ “การรับข้อมูล” “การประมวลผล” และ “การตอบสนอง”  การรับข้อมูล เกิดจากการรับสิ่งกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมเช่น ภาพ เสียง กลิ่น หรือสัมผัส ผ่านตัวรับสัมผัสและส่งสัญญาณประสาทเข้าสู่ ส่วนประมวลผล การประมวลผล เกิดจากระบบประสาทส่วนกลาง รับข้อมูลจากสิ่งกระตุ้น และประมวลผลสิ่งกระตุ้น ทำให้เกิดอารมณ์ การเรียนรู้ และ การจดจำ การตอบสนอง คือการสั่งการจากระบบประสาทส่วนกลาง ไปยังอวัยวะเป้าหมาย ผ่านเส้นประสาทส่วนปลาย ซึ่งแยกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่สั่งการได้ตามใจ เช่น มือ แขน ขา กล้ามเนื้อใบหน้า กลุ่มที่ทำงานอัตโนมัติ เช่น ระบบหัวใจ ทางเดินอาหาร และ หลอดเลือด สมองมีเซลล์สมองจำนวนมหาศาล  มีการเชื่อมต่อระหว่างกันโดยใช้ “สารสื่อประสาท” เป็นตัวนำพาข้อมูลครับ ซึ่งเซลล์สมองก็มีหลายชนิด และ สารสื่อประสาทก็มีหลายชนิดเช่นกัน     […]

Physiology CVS icon ST

การทำงานของระบบหัวใจ

Posted on 1 CommentPosted in Library, Physiology

  Physiology ใน 1 นาที (ฉบับย่อ) ระบบหัวใจ และ หลอดเลือด เป็นเหมือนระบบหลักที่คอยหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ จะเรียกว่าเป็นพี่ใหญ่ของร่างกายก็คงไม่ผิดครับ หน้าที่หลักคือการขนส่งสารอาหารที่สำคัญในการดำรงชีวิตไปสู่เนื้อเยื่อทุกระบบ เพื่อให้ทุกระบบสามารถทำงานได้อย่างปกติ การลำเลียงสารอาหารเหล่านี้จะมี “หลอดเลือด” เป็นท่อนำทาง และมี “หัวใจ” ทำหน้าที่ปั๊ม ปั้มเพื่อให้เกิดการหมุนเวียน โดยการบีบตัวของหัวใจเกิดจาก เซลล์กำเนิดไฟฟ้าในหัวใจ สั่งการให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวครับ ส่วนทิศทางการไหลของเลือดโดนกำหนดโดยลิ้นหัวใจเป็นหลัก ระบบที่ทำงานสอดคล้องกันอย่างใกล้ชิดคือ ระบบทางเดินหายใจ ทำหน้าที่รักษาสมดุลก๊าซในเลือด ระบบทางเดินปัสสาวะ ทำหน้าที่รักษาสมดุลสารเคมีในเลือด โดยทั้งสามระบบช่วยกันรักษา สมดุลของการส่งต่อสารอาหารไปสู่เซลล์ เพื่อการดำรงชีวิตครับ       การทำงานของของหัวใจและหลอดเลือด (ฉบับเต็ม) หัวใจ และ หลอดเลือด นั้นทำงานควบคู่กันครับ มีเป้าหมายไปในทางเดียวกันคือการส่งผ่านเลือดและสารอาหารไปสู่เนื้อเยื่อในระบบต่างๆ ผ่านสิ่งที่เรียกว่า “ความดันโลหิต”   โดยกระแสเลือดจะนำพาสารอาหารและแก๊สที่ จำเป็นในการดำรงชีวิตเช่น กลูโคส โซเดียม โปแทสเซียม แคลเซียม และ ออกซิเจน เหล่านี้ไปสู่เซลล์ และนำสารที่เป็นพิษเช่น แอมโมเนีย […]

Physiology MS icon stamp

การทำงานของระบบกล้ามเนื้อ

Posted on Leave a commentPosted in Library, Physiology

ทำไมเราจึงเคลื่อนไหวได้ เป็นคำถามที่มีคำตอบเมื่อวิทยาศาสตร์เริ่มก้าวหน้าเข้าสู่ยุคใหม่ครับ มนุษย์เราเป็นสิ่งมีชีวิต ที่ได้รับการพัฒนาเรื่องกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อ จนทำให้จัดอยู่ในกลุ่ม “สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลัง” แต่สิ่งเหล่านี้พิเศษอย่างไร และทำไมต้องพัฒนาให้มีกระดูกสันหลังด้วย ลองศึกษาความพิเศษของร่างกายเราดูครับ จะได้เข้าใจเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับตัวเอง เช่น การเคลื่อนไหวของร่างกาย การเป็นตะคริว และอาการปวดกล้ามเนื้อ ไปเรียนรู้ร่วมกันครับ   Musculoskeleton System (ระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ) สิ่งนี้ประกอบด้วยการทำงานสอดคล้องกันระหว่าง 2 สิ่งครับ กระดูกโครงร่าง ทำหน้าที่ เป็นโครงสร้าง เป็นแกน เพื่อให้กล้ามเนื้อยึดเกาะ กล้ามเนื้อ ทำหน้าที่ ยืด และ หดตัว เพื่อดึงรั้งกระดูก จนทำให้เกิดการเคลื่อนไหวขึ้น ซึ่งสองอย่างนี้จะต้องทำงาน ”สอดคล้องกัน” จึงจะทำให้เกิด “การเคลื่อนไหว” ครับ     มาทำความรู้จักกับกระดูกกัน ในร่างกายเรานั้นมีกระดูก 206  ชิ้น ซึ่งแตกต่างกันในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด โดยที่กระดูกนั้นมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยถึง 20% ของน้ำหนักตัวของเรา หากเอากระดูกมาแยกสารประกอบ 100% จะมีส่วนประกอบดังนี้ครับ 65% Hydroxyapatite (ไฮดรอกซี่เอปาไทท์) […]

Physiology overview icon1

วิวัฒนาการและกลไกของสิ่งมีชีวิต

Posted on Leave a commentPosted in Library, Physiology

  เรามาจากไหน ร่างกายเราทำงานเช่นไร ? ก่อนที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆภายในตัวเรา เรื่องแรกที่ควรเรียนรู้คือ เราคือใคร และ เรามาจากไหนครับ ต้องย้อนไปอดีตเมื่อประมาณ 4600 ล้านปีก่อน ที่โลกของเราได้กำเนิดขึ้นจากกลุ่มแก๊สและฝุ่นผงในอวกาศ และเกิดการควบแน่นกลายเป็นโลกแห่งนี้ขึ้นมาครับ ภายในโลกเรามีสารประกอบทางเคมีหลายอย่าง ซึ่งในภาวะที่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้รวมกันเป็นสารประกอบอินทรีย์ และ เกิดสิ่งที่มีชีวิตเซลล์เดียวขึ้นมา . นับล้านปี สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวได้กลายพันธุ์ เป็นสิ่งมีชีวิตหลายๆอย่าง  และผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ให้สายพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไปได้  และอย่าลืมนะครับว่า สภาพแวดล้อมในโลกเรานั้นแตกต่างกัน  จึงเป็นผลให้เกิดความแตกต่างของสิ่งมีชีวิต  แต่ทุกอย่างล้วนมีบรรพบุรุษร่วมกันคือสัตว์เซลล์เดียว  ส่วนสายพันธุ์ที่ไม่มีการปรับตัว หรือไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม จะสูญพันธุ์ไปในที่สุด . จากภาพจะเห็นได้ว่าในโลกเรามีสิ่งมีชีวิตหลากหลาย แต่ทั้งหมดนั้น เริ่มมาจากสัตว์เซลล์เดียวทั้งสิ้น แต่สิ่งที่ทำให้แตกต่างกัน สิ่งนั้นคือ “สภาพแวดล้อม” และ “ความสามารถปรับตัว” ของสิ่งมีชีวิต ให้สามารถอยู่รอดในสภาพที่แตกต่างกันครับ Darwin’s  Natural selection   มนุษย์ เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่ผ่านการปรับตัวมาอย่างยาวนาน เริ่มจากสัตว์เซลล์เดียว กลายเป็นสัตว์น้ำ เข้าสู่สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ กลายเป็นสายพันธุ์ลิง และสุดท้ายพัฒนาเป็นมนุษย์อย่างในปัจจุบันนี้ Human […]