drugtiming

กินยาเวลาไหนดีที่สุด?

Posted on Leave a commentPosted in Pharmacology

ทำไมต้องกินยาตามเวลาที่หมอบอก? เรื่องนี้ออกจะวิชาการ น่าเบื่อเรื่องกินยา แต่เดี๋ยวสรุปให้ฟังสั้นๆค่ะ เราอาจจะต้องคุยถึงพื้นฐานความรู้กันก่อนนะ ปัจจุบันนั้นทางการแพทย์เรามีการศึกษาเกี่ยวกับยาและสารเคมีต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกายมนุษย์เรา ได้องค์ความรู้มาสองอย่างที่สำคัญค่ะ Pharmacokinetic คือ ความรู้ว่ายานั้นดูดซึมเข้าไปในร่างกายเราอย่างไร เข้าไปแล้วไปอยู่ไหน และ เมื่อไหร่ยาเหล่านี้จะเสื่อมสลาย และกำจัดออกจากร่างกายเมื่อไหร่ Pharmacodynamic คือ ความรู้เกี่ยวกับการ “ออกฤทธิ์” ของยานั้นๆ ในความเข้มข้นของระดับยาที่แตกต่างกัน เรานำความรู้นี้ มาทำการ “กำหนดเวลากินยา” และ “ขนาดยา” ค่ะ   มาฟังคำถามคาใจกันดีกว่าค่ะ “ทำไมต้องกินยาก่อนอาหารครับ?” เนื่องจากยาบางตัวนั้น จะดูดซึมได้ไม่ดีหากกระเพาะนั้นมีอาหารมารบกวนการดูดซึม  หรือ ยาบางชนิดต้องการการออกฤทธิ์ก่อนที่จะกินอาหารค่ะ ยกตัวอย่างที่พบได้บ่อยคือ ยาลดกรดในกระเพาะบางตัว เราหวังผลให้ลดการหลั่งกรดก่อนที่จะกินอาหาร หากไปกินหลังอาหาร การออกฤทธิ์นั้นจะไม่ได้ผลเต็มที่ค่ะ เพราะกรดนั้นได้หลั่งออกมาถึง 90% แล้ว (คลิกเพื่อเรียนรู้การทำงานของทางเดินอาหารได้ค่ะ) “ทำไมต้องกินยาหลังอาหารครับ?” ยาบางตัวนั้นออกแบบมาเพื่อให้ดูดซึมและทำงานพร้อมการย่อยอาหาร หรือบางกลุ่มนั้น ระคายเคืองกระเพาะอาหารจึงต้องกินหลังอาหารทันที เพื่อลดผลข้างเคียงที่ไม่ควรเกิดค่ะ “ทำไมยาบางตัวต้องกินพร้อมอาหารครับ?” ยาบางตัวหวังผล เพื่อจับกับสารอาหารบางอย่าง เพื่อไม่ให้สารอาหารชนิดนั้นได้รับการดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ที่พบกันบ่อยๆ เช่น แคลเซียม […]

drugkeeping

การเก็บรักษายาที่บ้าน

Posted on Leave a commentPosted in Pharmacology

การเก็บรักษายา ยาที่เก็บรักษาถูกต้อง และพร้อมใช้ ย่อมมีความสามารถในการรักษาโรคได้ดีกว่าค่ะ สิ่งเล็กๆน้อยๆที่คนเราชอบมองข้ามคือ “ลืมดูแลยาที่รับไป” ทำให้ประสิทธิภาพของการรักษา ทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร หรือบางครั้งไม่หายจากโรค ซ้ำร้ายยังเกิดการกินยาโดยไม่พึงประสงค์ด้วยค่ะ ขอสรุปสั้นๆ เป็นข้อควรรู้ดังนี้นะคะ “อุณหภูมิ” ยาโดยส่วนมากแล้วควรเก็บในอุณหภูมิห้องคือ 18-25 องศาค่ะ ยาบางชนิดทนความเย็นไม่ได้ บางชนิดตกตะกอนเมื่อเข้าตู้เย็น และ ส่วนมากเสื่อมคุณภาพหากอุณหมิสูงเกินไป มีเพียงยาบางชนิดที่ต้องเก็บในตู้เย็น ไม่ต้องห่วงค่ะ ยาชนิดไหนที่ควรเก็บในตู้เย็น เมื่อจ่ายยาให้คนไข้จะมีการบอกย้ำทุกครั้งค่ะ ดังนั้นการเก็บยาไว้ที่อุณภูมิห้องสำหรับยาทั่วไปก็เพียงพอแล้ว “ความชื้น” ถ้าจะพูดเป็นตัวเลข กลัวว่าจะนำไปใช้ไม่ได้ เพราะหลายบ้านน่าจะไม่มีเครื่องวัดความชื้นติดบ้าน  ขออธิบายเป็นว่า เก็บในที่ๆมีความชื้นไม่มากนะคะ ตัวอย่างเช่นไม่ควรเก็บในตู้เย็น ใกล้ห้องน้ำ หรือห้องทำครัว เพราะความชื้นทำให้สารที่เคลือบยามีปัญหา ส่งผลต่อการละลายของยา และคุณภาพยาได้ค่ะ “แสง” แสงอาจทำให้ยาบางตัวเสื่อมสภาพ ถ้าสังเกตดีๆแล้วยาที่ไวต่อแสง จะมีแผงหรือขวดเป็นสีชาค่ะ เพื่อกันแสง แต่อย่างไรก็ตามยาทุกชนิดไม่ควรโดนแสงโดยตรง เพื่อป้องกันไม่ให้ยาเสื่อม หรือจะหาตู้ยาประจำบ้านไว้ก็จะดีมากค่ะ “วางให้พ้นมือเด็ก” เพื่อป้องกันการกินยาโดยไม่พึ่งประสงค์ค่ะ หลายครั้งที่เกิดเหตุการณ์ที่เด็กๆหยิบยาเข้าปากด้วยความซน ถ้าเป็นยาที่ไม่อันตรายแพทย์พอช่วยได้ แต่ก็มีหลายครั้งที่แพทย์ช่วยไม่ทันค่ะ “จัดของใหม่เข้าในสุด” ในกรณีที่มียาหลายตัว หลายชุดแต่เป็นยาซ้ำกัน ส่วนมากเจอในคนไข้เรื้อรังที่มียาหลายตัว เราใช้หลักการ […]

drugallergy

สงสัยแพ้ยาควรทำอย่างไร?

Posted on Leave a commentPosted in Pharmacology

สงสัยแพ้ยาควรทำอย่างไร? บ่อยครั้งที่เกิดอาการไม่พึ่งประสงค์จากการใช้ยาค่ะ เช่นมีผื่นขึ้น หายใจลำบาก เกิดอาการบวม หรือวิงเวียนศีรษะ ซึ่งทั้งหมดไม่ใช่อาการแพ้ยาเสมอไป ทางการแพทย์เรานั้นแบ่งอาการไม่พึ่งประสงค์นี้ออกเป็นสองอย่างที่สำคัญที่ควรรู้ค่ะ Drug allergy (การแพ้ยา) เป็นการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน ที่ไวต่อสิ่งกระตุ้น ซึ่งไม่ได้เกิดกับทุกคน และ ทำนายได้ยาก ว่าจะมีอาการแพ้หรือไม่ อาการนั้นจะคล้ายๆกับการแพ้อาหาร แพ้กุ้ง ที่มีอาการ บวมตามใบหน้า มีผื่นขึ้น หลอดลมตีบ หายใจลำบาก เมื่อเกิดอาการแพ้ยานี้ เราจะไม่สามารถใช้ยาตัวนี้ได้อีกเลย เพราะฉะนั้นต้องจำชื่อให้แม่นค่ะ เพราะถ้าเกิดแล้ว อาการนี้จะเกิดไปตลอดชีวิต แม้จะรับยานี้ในขนาดน้อยๆก็ตาม Drug Adverse Effect (เกิดผลข้างเคียงจากยา) เป็นกลไกที่ไม่พึ่งประสงค์จากฤทธิ์ของยานั้นๆ ซึ่งเกิดกับทุกคนที่รับยา แต่การรับรู้ผลนั้นแตกต่างกัน เช่นบางคนกินยาแก้แพ้แล้วรู้สึกง่วง บางคนไม่รู้สึก แต่หากเพิ่มระดับยาขึ้นสูงๆ จะสามารถรับรู้ได้ทุกคน  เมื่อเกิดผลข้างเคียงของยา ไม่ได้เป็นข้อบ่งชี้ให้หยุดการรักษาด้วยยานั้น เพียงแต่ต้องพบแพทย์เพื่อปรับการบริหารยาให้เหมาะสมกับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นค่ะ   เมื่อมีอาการไม่พึงประสงค์ควรทำอย่างไร? เป็นการยากสำหรับบุคคลทั่วไป ในการแยกระหว่าง “แพ้ยา” กับ “ผลข้างเคียง” ดังนั้นหากเกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ให้หยุดการใช้ยาไว้ก่อน และปรึกษาบุคคลากรทางการแพทย์ ที่สำคัญให้นำยาที่กินอยู่ทุกตัวไปด้วยค่ะ […]