milk icon

นมแม่ ตอน กำเนิดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

Posted on Posted in Child-care

ปัจจุบันเด็กไทยและเด็กทั่วโลกเป็นภูมิแพ้มากขึ้น

ความผูกพันระหว่างแม่กับลูกลดลง

หลายบ้านเสียเงิน ซื้อนมให้ลูกในหลักหลายพันบาทต่อเดือน

ยิ่งไม่มีเงิน ยิ่งต้องออกไปหา และ ต้องห่างลูกมากขึ้น

เดี๋ยวเรามาหาทางออกที่ดีที่สุดร่วมกันครับ

(เรื่องนี้ยาว เป็นมหากาพย์เลยทีเดียว)

.

.

milk milk

 

เราอาจจะต้องท้าวความไปไกลซักหน่อยครับ ถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต(คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้พัฒนาการของมนุษย์) สัตว์แต่ละชนิดนั้น มีการเลี้ยงลูกที่แตกต่างกัน แต่เป้าหมายนั้นเหมือนกันคือ “รอให้ลูกพร้อม” พร้อมที่จะดำรงชีพและหากินด้วยตัวเองได้ครับ

สัตว์บางชนิดเลี้ยงลูกในรัง  บางชนิดเลี้ยงในรู  บางชนิดเลี้ยงในผนังหน้าท้องเช่นจิงโจ้เลยก็มีครับ สัตว์แต่ละชนิดจะมีการให้อาหารลูกแตกต่างกันไป นกจะหาหนอนให้ลูกตอนที่ยังเด็ก ไก่จะพาลูกออกคุ้ยเขี่ยหากินและคอยดูแลความปลอดภัย

Milk why milk

แต่ก็มีสิ่งมีชีวิตกลุ่มหนึ่งวิวัฒนาการ เรื่องการเลี้ยงลูกขึ้นมาโดยการ “ให้นม” เราเรียกสิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้ว่า “สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม” ซึ่งถือเป็นการวิวัฒนาการขั้นสูงสุดเลยก็ว่าได้ครับ ประโยชน์ที่แตกต่างจากสัตว์อื่นๆในอดีตคือ การเลี้ยงลูกด้วยนมทำให้ “แม่กับลูกอยู่ด้วยกันตลอดเวลา”

 

milk animal

 

การวิวัฒนาการนี้ทำให้ลูก ไม่ต้องเผชิญกับภาวะโดดเดี่ยว และ อันตราย ขณะที่แม่ออกไปหาอาหารครับ จะเห็นได้ว่าในช่วงแรกของชีวิต คุณแม่ไม่สามารถวางลูกบนเตียงนิ่งๆได้เลย ลูกจะร้องงอแงให้อุ้มตลอด นั่นคือสิ่งที่ธรรมชาติของมนุษย์กำหนดมาครับ

 

macbook stand

 

กลไกการเกิดน้ำนม


Milk physiology

Credite: http://philschatz.com/anatomy-book/contents/m46325.html

ถ้าจะคุยถึงกลไกการสร้างน้ำนมให้ครอบคลุมแล้ว คงจะเยอะมาก เพราะกลไกของร่างกายนี้ประกอบด้วยระบบอัจฉริยะมากมายที่เกี่ยวกับ สมอง อารมณ์ และ ตัวเต้านมเอง ทำงานสอดประสานกันอยู่ หมอเลยขอสรุปสั้นๆเป็นสองอย่างดังนี้ครับ

  • สิ่งที่กระตุ้นการสร้างน้ำนม เช่น การดูดนม และ เต้านมที่ไม่มีน้ำนม
  • สิ่งที่ยับยั้งการสร้างน้ำนม เช่น น้ำนมเต็มเต้าและการคัดตึงเต้านม

หากจะสรุปได้ง่ายๆ หากอยากให้น้ำนมเยอะ คือ “ให้เกิดการดูดบ่อยๆ อย่าให้นมคัดเต้า” เดี๋ยวร่างกายจะผลิตน้ำนมออกมาเองครับ แม้ตอนแรกจะมีน้ำนมไม่มากก็ตาม

 

 

ส่วนประกอบของน้ำนม


milk milk

Credit:http://news.nwu.ac.za

ในน้ำนมประกอบด้วย น้ำ เป็นหลักครับ(ประมาณ87%) แต่ก็มีอีกหลายสิ่งเป็นส่วนประกอบอยู่ภายในน้ำนมดังนี้ครับ

  • โปรตีน ช่วยในการเจริญเติบโต เป็นพลังงาน ช่วยในการต่อต้านเชื้อโรค หรือ พูดง่ายว่าเป็นสารเพิ่มภูมิคุ้นกันครับ ซึ่ง “โปรตีนในสัตว์แต่ละชนิดนั้นแตกต่างกัน” เพราะความต้องการของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดนั้นแตกต่างกัน
  • คาร์โบไฮเดรต อยู่ในรูปของน้ำตาลชนิดต่างๆ เช่น แลคโตส
  • เอนไซม์ ช่วยในการย่อยและการดูดซึมสารอาหาร
  • วิตามิน ช่วยในการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย
  • ฮอร์โมน ช่วยในการเจริญเติบโตและการทำงานของร่างกาย เช่น GnRH TRH TSH
  • อื่นๆ อันนี้เยอะครับ แต่อยู่ในขนาดและปริมาณที่จำเป็น

.

.

“น้ำนม” ของสัตว์แต่ละชนิดนั้นแตกต่างกันครับ เหตุผลที่แตกต่างก็เพราะสัตว์แต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างกัน

ต้องการพลังงานก็ต่างกัน ต้องการภูมิคุ้มกันก็ต่างกัน

น้ำนมของสัตว์แต่ละชนิดนั้นจึงถูกสร้างมา เพื่อเลี้ยงลูกของตัวเองโดยเฉพาะ

แต่ก็มีข้อน่าสงสัยครับ “มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียว ที่กินนมของสัตว์อื่น” เป็นเพราะอะไร ใครรู้บ้าง

ไว้ตอนหน้าหมอจะเล่าเรื่องเกี่ยวกับนมแม่ให้ฟังเพิ่มเติมครับ เพราะมีอีกหลายตอนเลย

มหากาพย์นมแม่ยังไม่จบ สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านล่างได้นะครับ

ไว้เจอกันตอนหน้า ในตอน “นมแม่ vs นมวัว” วันนี้สวัสดีครับ

.

.

ด้วยความรัก

ธีรวัฒน์ สุวรรณี

นายแพทย์ธีรวัฒน์ สุวรรณี
แพทย์ประจำบ้านหมอ
Founder: Kinya App.
Facebook: นพ.ธีรวัฒน์ สุวรรณี

Series นมแม่ :

ตอนที่ 1 กำเนิดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

ตอนที่ 2 นมแม่ vs นมวัว

ตอนที่ 3 การทำสต็อคนมแม่

 

comments