หากคุณช่วย คนป่วยมีโอกาสรอด
หากลังเลที่จะช่วย 1 นาทีที่เสียไป โอกาสรอดลดลง 7% – 10%
ช้าไป 5 นาที โอกาสรอดชีวิตเหลือเพียงครึ่งเดียว
ไม่เป่าปาก ไม่เป็นไร ลงมือช่วยเลยครับ
ห่วงโซ่ในการรอดชีวิต มีอยู่ทั้งหมด 4 ขั้นตอนหลักๆครับ
- Early recognition and call for help
เข้าถึงผู้ป่วยให้เร็ว และ ขอความช่วยเหลือ เพื่อป้องกันหัวใจหยุดเต้น
- Early CPR
เร่งรีบปั๊มหัวใจ เพื่อ ซื้อเวลารอทีมช่วยเหลือ
- Early defibrillation
ช็อคหัวใจด้วยไฟฟ้า เพื่อ ให้หัวใจกลับมาทำงานอีกครั้ง
- Post resuscitation care
การดูแลคนไข้หลังปั๊มหัวใจ เพื่อ ให้ร่างกายกลับมาทำงานเช่นเดิม
ในกรณีบุคคลทั่วไปจะเน้นการช่วยเหลือใน 3 ขั้นตอนแรกเป็นหลักครับ
เพราะขั้นตอนสุดท้ายต้องดูแลโดยบุคลากรทางการแพทย์
และ เครื่องมือในโรงพยาบาลครับ เริ่มกันเลย
- Early recognition and Call for help
ประเมิณเบื้องต้น 2 อย่าง
ข้อ1 ปลุก หรือ เรียกให้รู้ตัว โดยการตบที่ไหล่เบาๆทั้งสองข้าง แล้วไม่ตอบสนอง
ข้อ2 สังเกตุเห็นมีการหายใจผิดปกติ หรือ ไม่หายใจ
หากมีทั้งสองอย่าง โทรศัพท์ 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือ
ยินดีด้วยครับ คุณกำลังจะทำให้คนๆนึงรอดตาย ไปช่วยเหลือขั้นต่อไปกันครับ
2. Early CPR
ปั๊มหัวใจโดยการ กดตรงกลางหน้าอก ด้วยความเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที ด้วยความลึก 5-6 เซนติเมตร
หรือกดที่วีดีโอด้านล่าง เพื่อทำตามจังหวะที่เหมาะสม
นั่งคุกเข่าข้างลำตัว แขนเหยียดตรง
เราสามารถปั๊มหัวใจอย่างเดียวก็ได้ครับ ไม่ผิดหลักแต่อย่างใด แต่หากคุณผ่านการอบรมทางการแพทย์มา
สามารถช่วยหายใจ 2 : 30 ครั้งของการปั๊มหัวใจ ได้เลยครับ
ขอให้ช่วยปั๊มหัวใจต่อไป จนกว่าทีมช่วยเหลือทางการแพทย์จะมาถึง
คุณอาจจะเหนื่อยล้ากับการกดหน้าอกมาก แต่ถ้าเขาตื่นขึ้นมาได้
คุณจะภูมิใจและจดจำเหตุการณ์นี้ไปชั่วชีวิตครับ
3. Early defibrillation
ลองสังเกตได้ครับ ตามสนามบิน หรือห้างขนาดใหญ่จะมีเครื่องช็อคหัวใจอยู่
อุปกรณ์เหล่านี้เรียกว่า AED (Automatic External Defibrillator)
เป็นเครื่องช็อคหัวใจอัตโนมัติ ที่อัตโนมัติเพราะมันทำงานได้ง่ายมาก 3 ขั้นตอน
ติด ฟังคำแนะนำ และ กดช็อคหัวใจ
เราจะไม่หยุดปั๊มหัวใจนะครับ จะหยุดเฉพาะช่วงเครื่องวิเคราะห์ ให้คำแนะนำ และกดช็อคหัวใจ
หลังจากนั้นให้กลับมาปั๊มหัวใจเช่นเดิม
ข้อควรระวัง ขณะกดช็อคหัวใจ จะมีไฟฟ้าแรงสูงวิ่งระหว่างไฟฟ้าทั้งสองเส้น
ห้ามสัมผัสร่างกายหรืออุปกรณ์ใดๆบนตัวผู้ป่วยที่สามารถนำไฟฟ้าได้ เพื่อความปลอดภัย
การช็อคหัวใจด้วยไฟฟ้าเป็นการกระตุ้นให้ “หัวใจกลับมาทำงาน” อีกครั้ง
ถ้าคุณทำได้ ยินดีด้วยครับ คุณกำลังทำสิ่งที่ดีที่สุดแทนหมออยู่ครับ
4. Post resuscitation care
การดูแลหลังปั๊มหัวใจ เหลือไว้ให้เป็นหน้าที่ของทีมแพทย์ในโรงพยาบาลครับ เพราะต้องใช้เครื่องมือ และ การดูแลใกล้ชิดใน ICU เพื่อทำให้ร่างกายกลับมาใช้งานได้ตามปกติ
สิ่งที่ว่ามาทั้งหมด เรียกเป็นศัพท์ทางการแพทย์สั้นๆว่า “ CPR “ ครับ
ซึ่งเป็นการช่วยฟื้นคืนชีพให้กับคนที่หัวใจหยุดเต้น มีการวิจัยและปรับเปลี่ยนวิธีการและขั้นตอน
แต่ยังคงหลักการเดิมเพื่อการรอดชีวิตที่มากที่สุด เพื่อให้บุคคลทั่วไปสามารถทำได้ง่าย
ถ้าจะแบ่งเป็นสองขั้นตอนที่จำได้ง่ายคือ
- รีบประเมิณให้รู้ว่าหัวใจหยุดเต้น และ โทร 1669
- ปั๊มหัวใจโดยการกดหน้าอกเพียงอย่างเดียว 100-120 ครั้งต่อนาที
จะเห็นได้ว่าแนวทางใหม่นี้สามารถทำได้ง่าย และ ทำได้ทุกคน
ลองดูสถานการณ์ ตัวอย่างกันครับ
.
.
เราไม่สามารถรู้ได้ว่าคนที่เรารัก จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้หรือไม่
หากคุณช่วย คนป่วยมีโอกาสรอด
หากลังเลที่จะช่วย 1 นาทีที่เสียไป โอกาสรอดลดลง 7% – 10%
ช้าไป 5 นาที โอกาสรอดชีวิตเหลือเพียงครึ่งเดียว
ไม่เป่าปาก ไม่เป็นไร ลงมือช่วยเลยครับ
.
.
.
ด้วยความรัก
Reference :
American Heart Association (AHA) 2015
https://eccguidelines.heart.org/wp-content/uploads/2015/10/2015-AHA-Guidelines-Highlights-English.pdf
European Resuscitation Council (ERC) 2015
https://www.erc.edu/index.php/events/en/10/2015/3/eid=111/
ศูนย์ฝึกอบรมปฏิบัติการช่วยชีวิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
https://www.facebook.com/cprbysiriraj/
คณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
https://thaicpr.org/