Seizure text2

ชัก เกร็ง กระตุก ทำอย่างไร ?

Posted on Posted in Emergency

“ภาวะชักสามารถดูแลเบื้องต้นได้ง่ายๆ และทำให้คนไข้ปลอดภัย

ก่อนนำส่งหมอได้ครับ  เพราะชักไม่เท่ากับตาย”

.

.

“Seizure  is  abnormal  neuronal  electrical  firing”

ชัก คือ  ภาวะที่คลื่นไฟฟ้าในสมองทำงานมากเกินปกติ   สมองมนุษย์หรือสัตว์ชนิดต่างๆ มีหลายส่วนครับ  ซึ่งแต่ละส่วนทำหน้าที่ต่างกันไป

การที่คลื่นไฟฟ้าทำงานมากเกินปกติ  อาจจะเกิดในสมองเฉพาะส่วน หรือ ทั้งหมดพร้อมๆกัน  เพราะฉะนั้นการชักไม่จำเป็นต้องเกร็งกระตุกเสมอไป

บางครั้งชักเงียบคือหยุดนิ่งไป  หากชักในสมองส่วนที่เกี่ยวกับการมอง จะมีการเห็นภาพผิดปกติ หรือภาพหลอนได้   หากชักในสมองส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมอาจจะพบว่าบุคคลนั้นพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปบางช่วง

อาการแสดงขึ้นอยู่ที่ว่าคลื่นไฟฟ้าที่มากเกินนี้เกิดขึ้นที่ตำแหน่งใด  แต่ชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดคือ การชักเกร็งกระตุกน้ำลายฟูมปาก  ซึ่งเกิดจากคลื่นไฟฟ้าที่มากเกินปกติในสมองทั้งหมดพร้อมๆกันครับ

 Seizure brain function text

ผลกระทบจากการชักที่น่าสนใจมีดังนี้ครับ


  1. สมองขาดออกซิเจน สามารถส่งผลให้เนื้อเยื่อและเซลล์ประสาทบางส่วนเสียหาย
  2. สำลักอาหาร หรือ น้ำลายขณะชัก เกิดปอดติดเชื้อตามมาในภายหลัง
  3. อุบัติเหตุขณะเกิดอาการชัก เช่น รถชน จมน้ำ  ไฟไหม้ และ อันตรายจากเครื่องจักร

Seizure text2ชัก เกร็ง กระตุก ทำอย่างไร ?


  1. ตั้งสติ เพราะชักไม่เท่ากับตาย เราสามารถดูแลได้ครับseizure think text
  2. จับคนชักหันหน้าตะแคง เพื่อป้องกันการสำลัก  หากมีลูกยางแดง สามารถช่วยดูเอาเศษต่างๆออกได้ครับ แต่ไม่ควรทำขณะกำลังชักเพราะจะมีการกัดได้Seizure recovery text
  3. ปลดเสื้อผ้าให้หลวมเพื่อการหายใจที่สะดวกขึ้นseizure cloth off text
  4. เช็ดตัวเพื่อลดไข้ หากมีไข้ครับ (คลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเติมความรู้เรื่องไข้ครับ)Fever definition
  5. นำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล หรือ โทร 1669 ครับCPR emergency call text

ที่เหลือปล่อยให้เป็นหน้าที่ของหมอในการวินิจฉัยและดูแลครับ  เพราะสาเหตุของการชักมีมากมาย  สาเหตุของการชักที่พบได้บ่อยๆในเด็กส่วนมากจะเป็นไข้ชัก  ส่วนผู้ใหญ่เป็นเรื่องแอลกอฮอล์ และโรคลมชักครับ

 

เรามาปรับความเข้าใจให้ตรงกันครับ


“เอาช้อนงัดปากขณะชัก เพื่อป้องกันการกัดลิ้น”  ไม่ควรนะครับ วัฒนธรรมนี้มีเฉพาะในไทยเรา ซึ่งได้รับอิทธิพลจากละครไทย  ต่างประเทศหาข้อมูลไม่พบเลย และหมอก็พบบ่อยมากเช่นกัน  การงัดปากด้วยช้อนหรือวัสดุใดๆทำให้เกิดอันตรายกับอวัยวะช่องปาก โดยเฉพาะฟัน  บางเคสฟันหักและเศษของฟันเอง หลุดเข้าไปอุดทางเดินหายใจ จนทำให้เสียชีวิตทั้งที่ควรจะรอด  ปรับเปลี่ยนความเข้าใจเพื่อคนที่เรารักนะครับ

“ชักเท่ากับกำลังจะตาย”  อย่างที่กล่าวมาครับ  การชักส่วนใหญ่เป็นเพียงภาวะสั้นๆของคลื่นไฟฟ้าสมองที่มากเกินไป  แต่ก็มีบางภาวะที่ทำให้ถึงชีวิตได้คือการชักต่อเนื่องเป็นเวลานาน  แต่ที่เราให้ความสำคัญมากคือภาวะแทรกซ้อนขณะชักมากกว่าครับ

“ไข้ชักแล้วลูกจะปัญญาอ่อน สมองไม่ดี”  การชักในไข้สูง มักเกิดในเด็กอายุ 5 เดือน – 6 ปีครับ การศึกษาส่วนมากพบว่าการชักเพียงช่วงสั้นๆขณะไข้สูงของเด็ก ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา และ พัฒนาการใดๆ ยกเว้นการชักเป็นเวลานาน มากกว่า 4 นาทีขึ้นไปครับSeizure myth

 

ควรปฏิบัติตัวอย่างไรหากเคยมีอาการชัก


  1. พักผ่อนให้เพียงพอ
  2. หากมีไข้ อย่าปล่อยให้ไข้สูง (คลิกที่นี่เพื่อจัดการกับไข้สูง)
  3. ห้ามขาดยากันชัก หากมีโรคประจำตัว
  4. หยุดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด หากดื่มมานานต้องปรึกษาแพทย์
  5. งดกิจกรรม หรือ อยู่ในสภาพแวดล้อม ที่มีความเสี่ยง เพราะหากชักเราจะไม่สามารถควบคุมได้

.

มีคนไข้ของหมอบางคนเสียชีวิตเพราะจมน้ำตื้นจากการชัก

บางคนเป็นแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เพราะการชัก

การชักสามารถป้องกันได้  และ เราสามารถดูแลเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง

ก่อนที่จะพาคนป่วยมาพบหมอ

“เพราะชักไม่เท่ากับตาย”

 การดูแลที่ถูกวิธีและรวดเร็ว  ทำให้ความรุนแรงของโรคลดลงได้ครับ

.

.

ด้วยความรัก

ธีรวัฒน์ สุวรรณี

นายแพทย์ธีรวัฒน์ สุวรรณี
แพทย์ประจำบ้านหมอ
Founder: Kinya App.
Facebook: นพ.ธีรวัฒน์ สุวรรณี

Reference :

Harrison’s Principles of Internal Medicine, 18th edition :  Chapter 369. Seizures and Epilepsy  ,Daniel H. Lowenstein

http://accessmedicine.mhmedical.com/content.aspx?bookid=331&sectionid=40727185&jumpsectionID=40763660

MedlinePlus : Seizures

https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003200.htm

WebMD : Epilepsy Health Center

http://www.webmd.com/epilepsy/understanding-seizures-basics

เมื่อลูกชักจะทำอย่างไร  รศ.นพ. สุรชัย ลิขสิทธิ์วัฒนกุล  ภาควิชากุมาเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=597

คุย 10 คำถามกับคุณหมอ เมื่อลูกมีอาการชักจากไข้สูง อ.นพ.สรวิศ วีรวรรณ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

http://www.siphhospital.com/th/news/article-details.php?id=23

comments