.
“จินตนาการ สำคัญกว่าความรู้”
นักวิทยาศาสตร์ลำดับหนึ่งของโลกได้กล่าวไว้ครับ
.
แต่จะทำอย่างไร ให้เด็กมีความคิด และ จินตนาการ
.
การขับเคลื่อนทางความคิด และ พฤติกรรม ของเด็ก
คือ “การตอบสนอง (feedback)” จากสิ่งที่เขาทำครับ
ในฐานะที่เราเป็นผู้ใหญ่ ต้องวิเคราะห์กันให้ชัดเจนครับ
อยากให้เรามอง “กระบวนการ” ของสิ่งที่เกิดขึ้นมากกว่า “ผลลัพธ์”
ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเราจะ “ตอบสนอง” ต่อสิ่งนั้นอย่างไร
การตอบสนองมี 2 รูปแบบครับ
- Reward “การให้รางวัล” อาจจะเป็นคำพูด รอยยิ้ม การกอด หรือสิ่งอื่น
สิ่งนี้จะทำให้เด็ก จดจำและ ทำในสิ่งเดิม ซ้ำๆ - Punishment “การลงโทษ” อาจจะเป็นการ ดุด่า หรือการทำให้เจ็บ
สิ่งนี้จะทำให้เด็ก หลีกหนี และ หยุด ในการทำสิ่งเดิม
.
ส่วนอะไร “ผิด” หรือ “ถูก” นั้นแล้วแต่ความคิดของผู้ใหญ่ได้เลยครับ
แต่หน้าที่ของเราคือต้องมอง “กระบวนการ” ไม่ใช่ “ผลลัพธ์”
หากเราเปลี่ยนมุมมอง ซึ่งต้องเริ่มจากตัวเราก่อน จะทำให้สังคม
และลูกหลานของเรา มีความกล้าคิด และ มีจินตนาการครับ
บทเรียนทิชชู่
เมื่อสมัยเด็ก มีการกระทำบางอย่างที่ทำให้ ผมอยากจะส่งต่อการสอนครับ
ในตอนเด็ก ผมเอากระดาษทิชชู่ม้วน จำนวนหลายม้วน มาเล่นระโยงระยางในบ้าน
จากมุมนั้นไปมุมนี้ เพื่อทำโครงสร้างบ้านตามจินตนาการของเด็ก
เมื่อแม่ของผมเดินมาเห็น….
ลองคิดดูครับ “การตอบสนอง” จะเป็นอย่างไร ??
.
หากเป็นบุคคลทั่วไป แน่นอนว่า เด็กคนนั้นต้องโดนดุด่า และ ตีมือ
เนื่องจากพังข้าวของ ทำข้าวของเสียหาย และแน่นอนว่า เด็กคนนั้นจะหยุด !
หยุดทั้งการกระทำ ! และ “หยุดความคิด !!”
.
แต่สิ่งที่แม่ผมทำคือ “ยิ้ม ปรบมือ และ ปล่อยให้ทำต่อ”
ในมุมมองของแม่ สิ่งนี้คือการปลดปล่อยจินตนาการ และ ลงมือทำของผม
สมควรที่ผมจะได้รับรางวัล และ แน่นอน ผมมีความสุขกับการคิดและการสร้างตั้งแต่วันนั้น
.
เมื่อวานมีเด็กหญิงสามคน มาตั้งร้านขายน้ำหวานที่ข้างๆสถานพยาบาลเรา
หวังว่าคนป่วย ที่แวะมาเยี่ยมหมอจะได้ซื้อของที่พวกเธอขายกลับไป
หากเป็นคุณ คุณจะทำอย่างไร
.
หากมองในมุมผลลัพธ์ (ความอร่อยของน้ำหวานและความคุ้มค่า) แน่นอนว่าเราจะไม่ซื้อ
หากเราตอบสนองแบบ “ลงโทษ” หรือ “เพิกเฉย” ผลลัพธ์คือเด็กหยุดความคิดและความพยายามนั้นๆ
.
แต่ถ้าเราเปลี่ยน…
มามอง “กระบวนการ” แบบที่แม่สอน เราจะได้เข้าใจว่า กว่าเด็กประถมจะกล้าคิด กล้าทำ หาตำราความรู้การผสมน้ำหวาน ผ่านการชั่งตวงวัด และ การเลือกซื้อภาชนะ รวมทั้งทำเลการตั้งร้าน รวมถึงการทำบัญชี กำไร ขาดทุน และการสละเวลาในการวิ่งเล่น
เหล่านี้ผ่านกระบวนการมากมายกว่าจะมาเป็นร้านเล็กๆ
.
สมควรเป็นอย่างยิ่ง ที่จะได้รับ “รางวัล”
จึงเกิดคูปองแลกน้ำหวานฟรี แก่คนไข้ของเราทุกคน
เมื่อวานเด็กๆ ได้เงินกลับบ้านจำนวนหนึ่ง ซึ่งพอที่จะเป็นรางวัล
ให้พวกเขาขับเคลื่อนความคิด และ การกระทำต่อ
คงไม่ต้องเดานะครับว่า “สมองเขาจะวิ่งเร็วขนาดไหน”
.
ความคิดสร้างสรรค์ การกระทำ อุปนิสัย
มาจากการเลี้ยงดูทั้งนั้นครับ
“ให้รางวัล” หรือ “ลงโทษ”
อยู่ที่ดุลยพินิจของคนดูแล แต่ผมอยากให้มอง
“กระบวนการ” มากกว่า “ผลลัพธ์”
.
หากวันนั้น วันที่ผมเล่นกระดาษทิชชู่ ทำของมีราคาเสียหาย
หากวันนั้น “ผมโดนตีมือ”
วันนี้ คงไม่มี บ้านหมอ แหล่งความรู้สุขภาพ แห่งนี้
ใครมีประสบการณ์หรืออะไรอยากแชร์
เชิญคุยกันสบายๆ ที่คอมเม้นด้านล่างเลยครับ
.
เพราะ “จินตนาการ สำคัญกว่าความรู้”
คำกล่าวของ “อัลเบิร์ต ไอสไตน์”
.
.
ด้วยความรัก